อิสรภาพแห่งบราซิล ของ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล

ดูบทความหลักที่: อิสรภาพแห่งบราซิล

การปฏิวัติเสรีนิยมใน พ.ศ. 2363

ดูบทความหลักที่: การปฏิวัติเสรีนิยม พ.ศ. 2363
เจ้าชายเปดรู ในนามของพระราชบิดาของพระองค์ ทรงกล่าวสาบานที่จะทรงเชื่อฟังในรัฐธรรมนูญโปรตุเกสในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2364 พระองค์ประทับอยู่ตรงกลางของระเบียงทรงกำลังชูพระมาลาขึ้น

ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2363 ข่าวได้มาถึงที่ว่าทหารรักษาการณ์ในโปรตุเกสได้ก่อจลาจล และจะนำไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ การปฏิวัติเสรีนิยมในพ.ศ. 2363 กองทัพทำการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล เข้ามาแทนที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงแต่งตั้งขึ้น และทำการเรียกประชุม "คอร์เตส" ซึ่งคือ รัฐสภาโปรตุเกสซึ่งมีอายุมากว่าร้อยปีแล้ว ในเวลานี้ได้มีการเลือกตั้งตามประชาธิปไตยโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการสร้างชาติรัฐธรรมนูญขึ้น[49] เจ้าชายเปดรูทรงรู้สึกแปลกพระทัยเมื่อพระราชบิดาของพระองค์ไม่ทรงเพียงขอความคิดเห็นจากพระองค์ แต่ก็ตัดสินพระทัยส่งพระองค์ไปโปรตุเกสเพื่อให้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระราชบิดาและเพื่อทำให้การปฏิวัติสงบลง[50] เจ้าชายไม่ทรงเคยได้รับการศึกษาเพื่อการปกครองประเทศและไม่ทรงเคยเข้าร่วมกิจการของรัฐมาก่อน บทบาทที่ซึ่งเป็นของพระองค์โดยกำเนิดถูกเติมเต็มโดยพระเชษฐภคินีพระองค์โตของพระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งเบย์รา พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงต้องพึ่งพาพระราชธิดาพระองค์นี้ในเรื่องคำแนะนำ และเป็นพระนางผู้ทรงได้เป็นสมาชิกในสภาองคมนตรี[51]

เจ้าชายเปดรูทรงถูกเพ่งเล็งจากพระราชบิดาของพระองค์และเหล่าที่ปรึกษาคนสนิทของพระมหากษัตริย์ทุกคนซึ่งยังคงยึดติดกับหลักการแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในทางกลับกันเจ้าชายทรงเป็นที่รู้จักกันดีจากการสนับสนุนอย่างแข่งขันจากกลุ่มเสรีนิยมและตัวแทนจากระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เจ้าชายทรงอ่านงานเขียนของวอลแตร์, เบนจามิน คอนสแตนต์, กาอีตาโน ฟีแลงกีย์รี และเอ็ดมันด์ บรูค[52] แม้กระทั่งพระชายาของเจ้าชายคือ พระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า ทรงตั้งข้อสังเกตว่า "พระสวามีของฉัน พระเจ้าทรงช่วยให้เรารักในแนวคิดใหม่ๆ"[53][54] พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงพยายามเลื่อนวันเสด็จออกเดินทางของเจ้าชายเปดรูให้นานเท่าที่จะทำได้ ด้วยพระองค์ทรงเกรงว่าเมื่อเจ้าชายประทับอยู่ในโปรตุเกส เจ้าชายจะได้รับการประกาศเป็นพระมหากษัตริย์โดยกลุ่มปฏิวัติ[50]

ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2364 ทหารโปรตุเกสที่ประจำการในกรุงรีโอเดจาเนโรได้ก่อการจลาจลขึ้น แม้ว่าจะประทับอย่างปลอดภัยในระยะทางไม่กี่ไมล์จากเมืองเซา กริสโตเบา แต่ทั้งพระเจ้าฌูเอาที่ 6 และรัฐบาลของพระองค์ได้ทำการปราบปรามทหารที่ก่อจลาจล เจ้าชายเปดรูทรงตัดสินพระทัยที่จะทำด้วยพระองค์เองและพระองค์ทรงม้าไปพบปะกับกลุ่มกบฏ พระองค์ทรงเจรจากับพวกเขาและทรงเชื่อว่าพระราชบิดาจะยอมรับข้อเรียกร้องของพวกเขาด้วย ซึ่งรวมถึงการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และทรงกล่าวสาบานที่จะทรงเชื่อฟังในรัฐธรรมนูญโปรตุเกสซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น[55] ในวันที่ 21 เมษายน ผู้เลือกตั้งแห่งเขตรีโอเดจาเนโรได้ทำการประชุมกันที่ตลาดหลักทรัพย์พ่อค้าเพื่อทำการเลือกผู้แทนของตยเข้าไปในคอร์เตสผู้ก่อการจลาจลกลุ่มเล็กๆได้ยึดที่ประชุมและจัดตั้งรัฐบาลปฏิวัติ อีกครั้งที่พระเจ้าฌูเอาที่ 6 และรัฐมนตรีของพระองค์ยังทรงไม่มีปฏิกิริยาใดๆ และพระมหากษัตริย์ต้องทรงยอมรับข้อเรียกร้องของนักปฏิวัติ เมื่อเจ้าชายเปดรูทรงเริ่มต้นและส่งกองทัพไปจัดตั้งใหม่อีกครั้งที่ตลาดหลักทรัพย์พ่อค้า[56] ภายใต้แรงกดดันจากคอร์เตส พระเจ้าฌูเอาที่ 6 และพระราชวงศ์จะต้องเดินทางออกไปยังโปรตุเกสในวันที่ 26 เมษายนและทรงให้เจ้าชายเปดรูและเจ้าหญิงมาเรีย ลีโอโพลดิน่าทรงอยู่เบื้องหลังที่บราซิล[57] สองวันก่อนที่พระองค์จะเสด็จลงเรือพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์ทรงเตือนพระราชโอรสว่า "เปดรู ถ้าบราซิลแยกออกไป มันค่อนข้างจะทำให้เพื่อเจ้า เจ้าเป็นผู้เคารพพ่อมากกว่าหนึ่งในนักผจญภัยพวกนั้นเสียอีก"[58]

อิสรภาพหรือความตาย

พระสาทิสลักษณ์เจ้าชายเปดรูขณะมีพระชนมายุ 23 พรรษา เบื้องพระปฤษฎางค์คือ เมืองเซาเปาลู ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2365

เจ้าชายเปดรูทรงเป็นคนง่ายๆทั้งด้านพระอุปนิสัยและการติดต่อกับบุคคลอื่น ยกเว้นในคราวที่เป็นพระราชพิธี พระองค์จะทรงฉลองพระองค์ราชสำนัก ฉลองพระองค์ประจำวันของพระองค์ประกอบด้วยพระสนับเพลาผ้าฝ้ายสีขาว, ฉลองพระองค์ผ้าฝ้ายลายและทรงพระมาลาฟางปีกกว้าง,[59][60]หรือฉลองพระองค์คลุมยาวและพระมาลาทรงสูงในสถานการณ์ที่เป็นทางการมาก[61][62] พระองค์มักจะทรงใช้เวลาในการมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนบนถนนสอบถามความทุกข์ของพวกเขา[63] ระยะแรกของการสำเร็จราชการแทนพระองค์เจ้าชายเปดรูทรงแถลงประกาศที่จะรับรองสิทธิส่วนบุคคลและทรัพย์สิน นอกจากนี้พระองค์ยังลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและภาษี[54][64]เจ้าของที่ดินได้รับการคุ้มครองจากการมีที่ดินที่จะถูกยึดและไม่มีประชาชนคนใดตั้งแต่นั้นมาถูกจับกุมโดยปราศจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่จะถูกจับในกระบวนการการก่ออาชญากรรม ผู้ต้องสงสัยไม่สามารถถูกจับมากกว่า 48 ชั่วโมงโดยไม่ถูกตั้งข้อหาและมีสิทธิที่จะเป็นตัวแทน การทรมาน, การทดลองลับและไร้มนุษยธรรมยังถูกยกเลิก[65][66] แม้กระทั่งนักปฏิวัติที่ถูกจับที่ตลาดหลักทรัพย์พ่อค้าได้รับการปลดปล่อยอย่างอิสระ[65]

ในวันที่ 5 มิถุนายน กองทหารภายใต้นายพลโปรตุเกส จอร์เก อาวิเลซ (ต่อมาเป็นเคานท์แห่งอาวิเลซ) ได้ก่อการจลาจลขึ้น เรียกร้องให้เจ้าชายเปดรูควรให้สัตย์ปฏิญาณที่จะส่งเสริมรัฐธรรมนูญหลังจากที่มันได้ถูกตราขึ้น ขณะที่พระองค์ทรงทำตามในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เจ้าชายทรงม้าส่วนพระองค์มาเพียงพระองค์เดียวเข้าแทรกกับผู้ก่อการกบฏ พระองค์ทรงเจรจาอย่างสงบและอย่างมีความคิดริเริ่มและสามารถแก้ปัญหาได้ดี ทรงชนะความเคารพจากทหารและประสบความสำเร็จในการลดผลกระทบจากความต้องการที่มากขึ้นของพวกเขาที่ทรงยอมรับไม่ได้[67][68] กลุ่มผู้ก่อการจลาจลเป็นทหารที่สวมหน้ากากบางๆในการรัฐประหาร ที่ซึ่งพยายามเปลี่ยนให้เจ้าชายเปดรูเป็นพระประมุขเพียงในพระนามเท่านั้นและถ่ายโอนพระราชอำนาจไปยังอาวิเลซ[69] เจ้าชายทรงยอมรับด้วยผลที่ทางผิดหวังแต่พระองค์ยังทรงเตือนพระองค์เองว่ามันเป็นครั้งสุดท้ายที่พระองค์จะทรงยอมภายใต้แรงกดดันนี้[68][70]

วิกฤตการณ์ยังคงดำเนินต่อไปถึงจุดที่ไม่มีวันกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้แล้วเมื่อทาง คอร์เตส ทำการยุบรัฐบาลกลางในรีโอเดจาเนโรและกราบบังตมทูลให้เจ้าชายเปดรูเสด็จกลับ[71][72] นี่เป็นแผนการของชาวบราซิลเป็นความพยายามเพื่อให้อยู่ในสังกัดของโปรตุเกสอีกครั้ง ด้วยบราซิลไม่ใช่อาณานิคมมาตั้งแต่พ.ศ. 2358 และมีสถานะเป็นราชอาณาจักร[73][74] ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2365 เจ้าชายเปดรูทรงถูกเสนอด้วยคำร้องของ 8,000 รายชื่อ ได้ร้องขอไม่ให้พระองค์เสด็จจากไป[75][76] พระองค์ตรัสตอบว่า "เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคนและความสุขโดยรวมของประเทศชาติ ข้าพเจ้าเต็มใจ โปรดบอกประชาชนเถิด ข้าพเจ้าจะยังคงอยู่ที่นี่"[77] นายพลอาวิเลซได้ก่อการจลาจลอีกครั้งและพยายามบีบบังคับให้เจ้าชายเปดรูเสด็จกลับโปรตุเกส ในครั้งนี้เจ้าชายทรงหันกลับมาต่อสู้ ทรงระดมพลกองทัพบราซิล (ที่ซึ่งไม่เข้าร่วมกับฝ่ายโปรตุเกสที่ก่อการจลาจลในครั้งก่อน),[78]หน่วยพลทหารและพลเรือนติดอาวุธ[79][80] ด้วยจำนวนที่มากกว่า อาวิเลซยอมแพ้และถูกขับไล่ออกจากลราซิลพร้อมกับทหารของเขา[81][82]

ในช่วงไม่กี่เดือนถัดไป เจ้าชายเปดรูทรงพยายามรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในรูปลักษณ์ภายนอกกับโปรตุเกส แต่สุดท้ายความแตกแยกกำลังมาถึง ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐมนตรีที่มีความสามารถ ฌูเซ โบนิเฟชิโอ เดอ อันดราดา เขาทำการค้นหาแรงสนับสนุนจากภายนอกรีโอเดจาเนโร เจ้าชายทรงเดินทางไปยังมีนัสเชไรส์ในเดือนเมษายน และเสด็จไปยังเซาเปาลูในเดือนสิงหาคม พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากจังหวัดทั้งสองและทรงเข้าทอดพระเนตรพระราชอำนาจของพระองค์[83][84] ในขณะที่เสด็จกลับจากเซาเปาลู พระองค์ทรงได้รับข่าวในวันที่ 7 กันยายน ซึ่งทางคอร์เตส ไม่ยอมรับการปกครองตนเองของบราซิลและจะทำการลงโทษทุกคนที่ไม่เชื่อฟัคำสั่งนี้[85] "ไม่มีใครที่หลีกเลี่ยงการกระทำที่น่าทึ่งที่สุดบนแรงกดดันที่เกิดทันทีทันใด" บาร์แมนกล่าวเกี่ยวกับเจ้าชาย พระองค์"ไม่มีเวลาที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจมากกว่าการที่ทรงอ่านจดหมายขู่"[86] เจ้าชายเปดรูทรงม้าสีน้ำตาลแดง และทรงอยู่หน้าคณะผู้ติดตามและองครักษ์ของพระองค์ ตรัสว่า "สหายทั้งหลาย คอร์เตสโปรตุเกสอยากให้พวกเรากลายเป็นทาสและพยายามกลั่นแกล้งพวกเรา ณ วันนี้พันธะผูกพันของเราเป็นอันจบสิ้น ด้วยโลหิตของข้า, ด้วยเกียรติของข้า และด้วยข้าพระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าขอสาบานที่จะนำมาซึ่งอิสรภาพแห่งบราซิล ชาวบราซิลทั้งหลาย จงเตือนใจพวกท่านเองเถิดเสียในวันนี้ว่า เราจะมุ่งไปข้างหน้าด้วย อิสรภาพหรือความตาย!"[87]

สมเด็จพระจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญ

พระราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2365พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา วาดโดย เดเบรต์ ในปีพ.ศ. 2366

ในช่วงหลายเดือนจาก 7 กันยายน พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ยังคงเป็นที่ยอมรับในฐานะพระประมุขอันชอบธรรมของราชอาณาจักรเอกราชบราซิล[88] กลุ่มการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของบราซิลไม่ได้ต่อต้านพระมหากษัตริย์โดยตรง ที่ทรงถูกมองว่าเป็นเพียงพระประมุขหุ่นเชิดที่ทรงถูกควบคุมโดยสภาคอร์เตส[89] เจ้าชายผู้สำเร็จราชการจึงทรงเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่ต่อมาทรงถูกเชิญชวนให้ทรงราชบัลลังก์บราซิลในฐานะ สมเด็จพระจักรพรรดิ มิใช่ พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามเจ้าชายเปดรูทรงชี้แจงว่าถ้าหากพระราชบิดาของพระองค์เสด็จกลับมาบราซิล พระองค์จะสละราชบัลลังก์ให้พระราชบิดา[90] พระองค์ทรงสถาปนาพระองค์เองเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 24 พรรษาของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิบราซิลในวันที่ 12 ตุลาคม พระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกในวันที่ 1 ธันวาคม พระราชอำนาจของพระองค์ไม่ได้ขยายไปทั่วแผ่นดินบราซิลในทันที พระองค์ทรงบีบบังคับให้หลายๆจังหวัดในภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ และกองทหารโปรตุเกสที่มีฐานที่มั่นที่สุดท้ายให้ยอมจำนนในต้นปีพ.ศ. 2367[91][92]

ในขณะที่ความสัมพันธ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 กับโบนิเฟชิโอได้เสื่อมโทรมลง แม้ว่าครั้งหนึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิจะทรงยกย่องเขาในฐานะที่ปรึกษา[93][94] สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงเริ่มไม่พอพระทัยในตำแหน่งที่ส่งเสริมบทบาทใหม่ของโบนิเฟชิโอในฐานะครู[95] สถานการณ์มาถึงจุดวิกฤตเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงลงโทษในฐานการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมด้วยการปลดโบนิเฟชิโอและน้องชายของเขา มาร์ติม ฟรานซิสโก เดอ อันดราดาจากตำแหน่งรัฐมนตรีลอยของพวกเขา จากความเผด็จการและความไม่ถูกต้อง โบนิเฟชิโอได้ใช้ตำแหน่งของตนทำการข่มขู่, ดำเนินคดี, จับกุมและแม้กระทั่งเนรเทศศัตรูทางการเมืองของเขา[96] เป็นเวลาหลายเดือนที่ศัตรูของโบนิเฟชิโอได้ทำานเพื่อเอาชนะพระทัยเหนือองค์จักรพรรดิ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ พวกเขาได้ให้พระยศแก่พระองค์ว่า "ผู้ปกป้องตลอดกาลของบราซิล" ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2365[97] พวกเขายังคงให้พระองค์ดำรงตำแหน่งในสมาคมฟรีเมสันในวันที่ 2 สิงหาคม[98][99] และต่อมาได้แต่งตั้งให้พระองค์เป็นผู้นำในวันที่ 7 ตุลาคม แทนที่โบนาเฟชิโอในตำแหน่งนี้[100]

วิกฤตระหว่างองค์จักรพรรดิและอดีตรัฐมนตรีของพระองค์รู้สึกได้ทันทีในสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ซึ่งได้รับเลือกตั้งสำหรับวัตถุประสงค์การจัดร่างรัฐธรรมนูญ[101] สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โบนิเฟชิโอได้ทำการฟื้นฟูเพื่อการฉวยโอกาสทางการเมือง เขาอ้างว่าการดำรงอยู่ของการสมคบคิดกับโปรตุเกสในการต่อต้านผลประโยชน์ของบราซิล เป็นการบอกเป็นนัยถึงสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องเนื่องจากประสูติในโปรตุเกส[102][103] องค์จักรพรรดิทรงพิโรธอย่างมากด้วยคำบริภาษพระองค์ในการประณามความจงรักภักดีของประชาชนผู้ซึ่งเกิดในโปรตุเกส และคำที่ว่าพระองค์สร้างความขัดแย้งด้วยพระองค์เองในความจงรักภักดีต่อบราซิล[104] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2366 สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีพระราชโองการประกาศยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญและให้มีการเลือกตั้งใหม่[105] ในวันต่อมา พระองค์ทรงก่อตั้งสภาโดยรัฐพื้นเมืองให้ทำการดูแลการยกร่างรัฐธรรมนูญ สำเนาของร่างรัฐธรรมนูญถูกส่งไปยังทุกๆเทศบาลเมือง และส่วนใหญ่ลงมติเห็นชอบให้บังคับใช้ทันทีในฐานะรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิ[106] ได้ถูกประกาศใช้และถวายคำสัตย์ปฏิญาณในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2367[107]